สิทธิและประโยชน์ในการฝึกอบรมฝีมือแรงงานภายใต้พระราชบัญญัติส่งเสริมการพัฒนาฝีมือแรงงาน พ.ศ.2545
การขอรับรองหลักสูตรอบรม
เพื่อขอลดหย่อนทางภาษี 200%
(ตามคู่มือสิทธิประโยชน์การฝึกอบรมฝีมือแรงงาน)
พระราชบัญญัติส่งเสริมการพัฒนาฝีมือแรงงาน พ.ศ.2545 กำหนดให้บริษัทสามารถนำค่าใช้จ่ายในการพัฒนาฝีมือแรงงานไปลดหย่อนภาษีได้200% ซึ่งการฝึกอบรมยกระดับฝีมือแรงงานมี 2กรณี ดังนี้
1. กรณีบริษัทจัดฝึกอบรมขึ้นเองหรือจ้างจัดบริษัทฝึกอบรมสัมมนามาจัดฝึกอบรมให้(In-house Training)
2. กรณีส่งบุคลากรไปรับการฝึกกับบริษัทฝึกอบรมสัมมนา สถานศึกษาหรือสถานฝึกอบรมฝีมือแรงงาน(Public Training)
การฝึกยกระดับฝีมือแรงงาน คือการฝึกอบรมฝีมือแรงงานให้กับลูกจ้างตามกฎหมาย มีการจ่าย ค่าจ้าง มีการทำสัญญาจ้างแล้ว(แม้จะเข้ามาในวันแรกหรือเป็นช่วงทดลองงานก็ตาม)
หลักเกณฑ์ในการพิจารณารับรองหลักสูตร |
1. IN HOUSE TRAINING เอกสารที่ต้องใช้ในการยื่นขอรับรองหลตามคู่มือสิทธิประโยชน์การฝึกอบรมฝีมือแรงงาน)
กรณีสถานประกอบการ/บริษัท(IN-HOUSE TRAINING)มีข้อสรุปดังนี้
1. คำขอรับการรับรองหลักสูตร ค่าใช้จ่ายในการฝึกยกระดับฝีมือแรงงานและการฝึกเปลี่ย/ฝป1)
2. ราย ละเอียดเกี่ยวกับหลักสูตรและค่าใช้จ่ายในการฝึกอบรม ฝึกยกระดับฝีมือแรงงานและการฝึกเปลี่ยนสาขาอาชีพ กรณีเป็นผู้ดำเนินการฝึกเองหรือจัดจ้างบริษัทฝึกอบรมสัมมนามาดำเนินการให้(แบบฝย/ฝป/ฝป 3)
4. ข้อมูลหลักสูตร
5. ตารางการฝึกอบรมสัมมนา
6. เรื่องอนุมัติให้จัดฝึกอบรมสัมมนา
7. ข้อมูลอื่นๆที่เกี่ยวข้องกับรายละเอียดหลักสูตร
รวมทั้งค่าใช้จ่ายในการฝึกอบรมต่างๆดังนี้
1. เงินค่าตอบแทนวิทยากร-บริษัทที่เข้ามาดำเนินการ เท่าที่จ่ายจริงหรือตอบแทนเป็นของขวัญสำหรับวิทยากรมูลค่าไม่เกิน 5,000บาท/คน/รุ่น อย่างใดอย่างหนึ่ง
2. ค่าลิขสิทธิ์ของหลักสูตรที่ใช้ในการฝึกอบรม
3. ค่าจ้างล่ามระหว่างการฝึกอบรม
4. ค่าแปลเอกสารประกอบการฝึกอบรมหรือตำรา
5. ค่าเอกสารประกอบการฝึกอบรมหรือตำราเป็นค่าจ้างจัดทำหรือซื้อมาเป็นเล่ม
6. ค่าจ้างถ่ายเอกสารประกอบการฝึกอบรม
7. ค่าถ่าย ล้าง อัดและขยายรูปภาพ ค่าบันทึกภาพและเสียงที่เกี่ยวข้องกับการฝึกอบรม
8. ค่า จัดทำหรือค่าเช่าสื่อในการฝึกอบรม เช่น เทปเสียง เทปวิดีโอ ซีดี วีซีดี ดีวีดี สไลด์ แผ่นภาพและรวมถึงชุดทดลอง ชุดสาธิตที่ไม่เข้าข่ายการลงทุน
(การเช่าต้องมีระยะเวลาที่แน่นอนและสอดคล้องกับหลักสูตรที่จัดฝึกอบรม)
9. ค่า วัสดุ เครื่องมือที่ใช้ในการฝึกอบรมฝีมือแรงงานต้องไม่ปะปนกับที่ใช้ในการประกอบกิจการตามปกติของผู้ขอรับความเห็นชอบ โดยจะต้องระบุรายการจำนวนและราคาของวัสดุ เครื่องมือนั้นให้ชัดเจน
10. ค่าเช่าเครื่องมือ เครื่องจักรและอุปกรณ์ที่ใช้ในการฝึกอบรมต้องมีระยะเวลาเช่าที่แน่นอนและสอดคล้องกับหลักสูตรที่จัดฝึกอบรม
11. ค่าเช่าสถานที่จัดฝึกอบรม
12. ค่าเช่าที่พัก ค่าอาหาร ค่าเครื่องดื่มและอาหารว่างสำหรับผู้รับการฝึกอบรม เจ้าหน้าที่ประสานการฝึกอบรมและวิทยากรระหว่างฝึกอบรมยกเว้นเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์
13. ค่าพาหนะเดินทางข้ามจังหวัดไป-กลับภายในประเทศเพื่อเข้ารับการฝึกอบรมไม่เกิน 2เที่ยว ยกเว้นค่าเครื่องบิน
14. ค่าจ้างเหมาพาหนะรับ-ส่งผู้รับการฝึกอบรม เจ้าหน้าที่ประสานการฝึกอบรมและวิทยากรระหว่างการฝึกอบรม ไป-กลับในประเทศไม่เกินสองเที่ยวยกเว้นค่าแท็กซี่และค่าเครื่องบิน
15. ค่าจ้างเหมาพาหนะไปดูงานที่กำหนดไว้ในหลักสูตรภายในประเทศ ยกเว้นค่าแท็กซี่และค่าเครื่องบิน
16. ค่าพาหนะเดินทางภายในประเทศของวิทยากร
หมายเหตุ
- กรณีหลักฐานค่าใช้จ่าย(ใบเสร็จรับเงินหรือใบสำคัญรับเงิน)ที่ออกโดยร้านค้าหรือนิติบุคคล ได้แก่ใบเสร็จรับเงินหรือใบกำกับภาษีที่มีรายการถูกต้องสมบูรณ์พร้อมระบุชื่อหลักสูตร รุ่น/วันที่อบรม/ จำนวนเงินให้ชัดเจน
(กรณีใบเสร็จรับเงินของโรงแรมให้แนบใบแสดงรายละเอียดค่าใช้จ่ายของค่าที่พักและอาหาร)
- กรณี ใบสำคัญรับเงินที่ให้บุคคลเป็นผู้รับเงินในการจ้างทำของหรือเป็นค่าตอบแทน เช่น ค่าตอบแทนวิทยากร ค่าจ้างทำอาหาร ค่าจ้างเหมาพาหนะรับ–ส่ง เป็นต้น พร้อมแนบสำเนาบัตรประจำตัวประชาชนของผู้รับเงิน
- ใบเสร็จรับเงินหรือใบสำคัญรับเงินสามารถใช้สำเนาได้ ให้เซ็นสำเนาถูกต้องทุกใบ
- ใบเสร็จรับเงินหรือใบสำคัญรับเงินขอให้แยกขาดกันในแต่ละหลักสูตร แต่ละรุ่นที่ฝึก
- กรณี ที่รวมใบเสร็จรับเงินหรือใบสำคัญรับเงินกันมามากกว่าหนึ่งหลักสูตรหรือหนึ่ง รุ่น ก็ให้ถ่ายสำเนาใบเสร็จนั้นตามจำนวนหลักสูตรหรือรุ่นที่รวมกันมา ให้เขียนหมายเหตุแบ่งแยกแต่ละหลักสูตรแต่ละรุ่นให้ชัดเจนว่าแต่ละหลักสูตร
แต่ละรุ่นมีค่าใช้จ่ายหลักสูตรละรุ่นละเท่าไรพร้อมเซ็นชื่อขอรับรองว่าเป็นความจริงด้วย(สามารถทำได้แต่ไม่แนะนำให้ทำ เพราะจะมีปัญหาเวลาพิจารณา)
- บิลเงินสดที่ออกกันเองไม่สามารถใช้ได้
- ค่าใช้จ่าย 16 ข้อข้างต้น ไม่รวมภาษีมูลค่าเพิ่ม โดยมีจำนวนเหมาะสมและจำเป็นกับการฝึกอบรม
2. PUBLIC TRAINING เอกสารที่ต้องใช้ในการยื่นขอรับรองหลักสูตร(ตามคู่มือสิทธิประโยชน์การฝึกอบรมฝีมือแรงงาน)
กรณีส่งบุคลากรไปรับการฝึกกับบริษัทฝึกอบรมสัมมนา สถานศึกษาหรือสถานฝึกอบรมฝีมือแรงงาน(PUBLIC TRAINING)มีข้อสรุปดังนี้
1. คำขอรับการรับรองหลักสูตร ค่าใช้จ่ายในการฝึกยกระดับฝีมือแรงงานและการฝึกเปลี่ยนสาขาอาชีพ(แบบฝย/ฝป1)
2. รายละเอียดเกี่ยวกับหลักสูตรและค่าใช้จ่ายในการฝึกอบรม(แบบฝย/ฝป 2-2)
3. เอกสารประชาสัมพันธ์หลักสูตรอบรม
4. เอกสารกำหนดการอบรมหลักสูตร
5. เอกสารการอนุมัติให้บุคลากรเข้ารับการอบรม
6. ใบเสร็จรับเงินค่าลงทะเบียน
7. วุฒิบัตร,ประกาศนียบัตรที่ผ่านการอบรม
เงื่อนไขของสถานประกอบการ-สถาบันที่จัดฝึกอบรม (Public Training)
- เป็นสถานศึกษาตามกฎหมายว่าด้วยโรงเรียน เอกชน สถาบันอุดมศึกษาตามกฎหมายว่าด้วย สถาบันอุดมศึกษาเอกชน
- สถานฝึกอบรมฝีมือแรงงานของทางราชการ
- สถานฝึกอบรมฝีมือแรงงานที่มีฐานะเป็นมูลนิธิ สมาคม หรือนิติบุคคลที่ตั้งขึ้นถูกต้องตามกฎหมาย
ค่าใช้จ่ายในการฝึกอบรมที่นำมายื่นประกอบ มีดังนี้
- ค่าธรรมเนียมเข้าอบรมหรือค่าลงทะเบียน
- ค่าพาหนะเดินทางข้ามจังหวัดไป-กลับภายในประเทศเพื่อเข้ารับการฝึกอบรมไม่เกินสองเที่ยวยกเว้นค่าเครื่องบิน
- ค่าเช่าที่พักเพื่อเข้ารับการฝึกอบรม ในกรณีสถานศึกษาหรือสถานฝึกอบรมฝีมือแรงงานไม่ได้จัดสถานที่พักให้
หมายเหตุ รายละเอียดเกี่ยวกับเอกสาร รวมทั้งความถูกต้องของเอกสารเรื่องกรอบค่าใช้จ่ายการฝึกยกระดับฝีมือแรงงานภายนอก เหมือนกรณีฝึกอบรมภายใน